วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรื่องของคนญี่ปุ่นกับชาเขียว

ชา,ชาเขียว,茶, อาหาร, อาหารญี่ปุ่น, ร้านอาหาร, แนะนำร้านอาหาร, Japanese Food, Japanese Restaurant, Guide, กรุงเทพฯ, Bangkok, BKK


โอะชะ (お茶) ในญี่ปุ่นเรียกว่า เรียวกุชะ (緑茶 / ชาเขียว) เรียวกุชะที่ดื่มกันในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่เซ็นชะ (煎茶)โฮจิชะ (ほうじ茶) และ บันชะ (番茶) ในพิธีชงชาจะใช้ชาผงที่เรียกว่า มัตชะ (抹茶)

เมื่อจะชงชาชั้นเลิศที่เรียกว่า เกียวกุโระ (玉露) และเซ็นชะ จะต้องระวังในเรื่องอุณหภูมิของน้ำร้อน ซึ่งไม่เหมือนกับชาฝรั่งที่ต้องใส่น้ำเดือด แต่การชงชาเกียวกุโระและเซ็นชะ จะต้องรอให้น้ำร้อนเย็นลงจนอุณหภูมิเหลือประมาณ 70-80 องศา เพื่อไม่ให้ความร้อนไปทำลายสีเขียวและกลิ่นหอมของใบชานั่นเอง

ในการรินชา เวลารินชาฝรั่งหรือกาแฟจะรินลงในถ้วยจนเกือบเต็มถ้วย แต่ชาญี่ปุ่นนั้น จะรินเพียงแค่ประมาณสามในสี่ส่วนของถ้วย เป็นรสนิยมอันสุนทรีย์ของคนญี่ปุ่นนั่นเอง

ในโอกาสมงคลต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน คนญี่ปุ่นจะดื่ม ซากุระยุ (桜湯) ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว และในฤดูร้อนก็นิยมดื่ม มุงิชะ (麦茶) ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน

การส่งชาเป็นของขวัญ
เนื่องจากชาเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ นิยมส่งชินชะ (新茶) ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น

วิธีนำใบชาที่ใช้แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์
เมื่อใช้ไม้กวาดทำความสะอาดห้องที่ปูเสื่อทะตะมิแล้ว ใช้กากใบชาโรยบนพื้นเสื่อให้ทั่ว ใบชาที่มีความชื้นจะช่วยดูดฝุ่น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาจากสมัยโบราณ ช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น

โอกาสสำหรับน้ำชาต่างๆ

ชนิดของชาโอกาสขนมเครื่องเคียง
玉露、煎茶
เกียวกุโระ, เซ็นชะ
สำหรับรับรองแขก和菓子 ขนมหวานญี่ปุ่น
ほうじ茶、番茶、玄米茶
โฮจิชะ, บันชะ, เก็มไมชะ
ดื่มประจำวัน駄菓子 ขนมหวานทั่วไปที่ราคาไม่แพง
せんべい เซมเบ้
(ขนมทำจากข้าวมีรสเค็ม)
抹茶
มัตชะ
พิธีชงชา和菓子 ขนมหวานญี่ปุ่น
麦茶
มุงิชะ
ฤดูร้อน, ช่วงเวลาที่อากาศร้อนไม่มีเป็นพิเศษ
昆布茶
คมบุชะ
(ชาผสมสาหร่ายทะเลป่น)
ในโอกาสที่เป็นมงคลไม่มีเป็นพิเศษ
桜湯
ซากุระยุ
ในโอกาสที่เป็นมงคล干菓子 ขนมหวานแบบแห้งมีสีต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น