วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันปีใหม่กับความเชื่อของประเทศญี่ปุ่น


 เทศกาลปีใหม่ : ชาวญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการผ่านไปของหนึ่งปีและการมาถึงของปีต่อไปด้วยศรัทธาแรงกล้า ระยะเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเรียกว่า "โชงัท สึ"(しょうがつ)  หมายถึง เดือนแรกของปี ประชาชนจะประดับประดาทางเข้าบ้านด้วยกิ่งสนและพู่ระย้าที่ทำจากฟาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ป้องกันมิให้สิ่งมัวหมองเข้ามาแผ้วพาน ของตกแต่งในวันปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นเริ่มที่ “คาโดมัทสึ” (かどまつ)(門松) ซึ่งชื่ออาจฟังดูเข้าใจยากสักหน่อย แต่เจ้าสิ่งนี้นั้นถูกนำมาเพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี เพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรือง และให้มีความมั่นคงในชีวิต โดยเจ้าสิ่งนี้จะวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้างของประตูก็ได้ (ความเชื่อแฝงเกี่ยวกับฮวงจุ้ย) คาโดมัทสึนั้นประกอบด้วยกิ่งสนใหญ่ ไม้ไผ่และช่อดอกบ๊วย ซึ่งช่อดอกบ๊วยถือเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าแห่งปี ซึ่งขอย้อนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคะโดะมัทซึอีกสักเล็กน้อย ค่อนข้างแฝงความเชื่อที่ว่าประตูจะมีมุมประตู เป็นเหลี่ยมๆ การใช้ดอกไม้ไปประดับตรงแต่ละมุมทั้งสองมุมนั้น จะเป็นการลบมุม ลบเหลี่ยมประตูตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทำให้ความหมายดี ก็ทำนองคล้ายๆแนวฮวงจุ้ย    
     ส่วนของตกแต่งอย่างอื่นที่ทำแบบง่ายๆก็มีอย่างเช่น “ชิเมคาซาริ”(しめかざり) ของใช้ประดับวันปีใหม่เช่นกัน ประกอบด้วย เชือกศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำด้วยฟางข้าว มีแถบกระดาษสีขาวห้อยเป็นพู่ ประดับพร้อมกับ กุ้งมังกร ส้ม และใบเฟิร์น ชาวยุ่นจะแขวนไว้ที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อว่า จะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ โดยความหมายที่น่าสนใจอย่างกุ้งมังกรจะหมายถึงอายุยืนยาวส่วนส้มถือว่าหมายถึงเป็นสิ่งแสดงสุขภาพที่แข็งแรงของสมาชิกในครอบครัวโดยเชื่อว่าบ้านเมื่อแขวนชิเมคาซาริแล้วเชื่อว่าบ้านบริสุทธิ์สิ่งชั่วร้ายเข้าไม่ได้นั่นเอง


      ความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทันที ที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่า หรือสัปดาห์แรกของปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะไปวัดชินโตหรือวัดพุทธเป็นครั้งแรก โดยผู้คนจะโอนเงินลงในกล่อง และขอพร ให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะมีการซื้อโอมาโมริ เครื่องรางนำโชคหรือลูกศรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีขนนกสีขาวประดับอยู่ มีการเสี่ยงเซียมซี ใบเซียมซีเขียนด้วยตัวคันจิ ว่าจะดีหรือร้าย ถ้าไม่ค่อยดี ก็จะผูกไว้กับกิ่งไม้ในวัดเพื่อให้ดวงชะตาดีขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูไปดูมาก็คลับคล้ายคลับครากับของบ้านเรา ที่ปีใหม่จะมีการทำบุญตักบาตร ไปไหว้พระ ฟังเทศน์กันที่วัด ตามแต่ละความเชื่อและศรัทธาของแต่ละคนกันไป ยิ่งกว่านั้นยังมีความเชื่อที่น่าสนใจ ในช่วงหลังปีใหม่ไม่นาน ที่น่าสนใจอย่าง ประเพณีทานข้าวต้มใส่สมุนไพร 7 ชนิด ของฤดูใบไม้ผลิ ในวันที่ 7 ของปีใหม่ ด้วยเหตุผล ตามที่ทราบ ๆ จากคนญี่ปุ่นนั้น ว่ากันมาว่า เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคอื่น ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ประเพณีนี้มีเริ่มแรกในสมัยเฮอัน และพวก สมุนไพร 7 อย่างในฤดูใบไม้ผลิของเขา นั่นก็ได้แก่ ซูซูชิโระ(すずしろ) ซูซูนะ(すずな) เซริ(せいり) นาซูนะ(なすうな) โกะเงียว(ごぎょう)โฮโตเคโนะซะ(ほとけのざ) ฮาโกเบระ(はこべら)

cr.http://www.student.chula.ac.th/~53373259/traditional.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น