คอสเพลย์ (Cosplay หรือ Cos'Play) เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า Costume ซึ่งแปลว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และ Play ที่แปลว่า การเล่นดังนั้น Costume + Play จึงแปลตรงๆว่า การเล่นเสื้อผ้า แต่ที่นิยามให้ชัดเจนที่สุดคือ "การแต่งตัวเลียนแบบ"
เนื่องจากศัพท์คำว่า Cosplay นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีการบัญญัติในภาษาอังกฤษนั้น จึงทำให้มีการพูดถึงนิยามอยู่เสมอ ทั้งนี้ ก็มีอีกนิยามว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้ชัดกว่าคือ "การแต่งกายสวมบทบาท"
แต่ทั้งนี้ Cosplay = Costume + Play ก็ยังถือว่าเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับในทางสากลมากกว่าอยู่ดี
สำหรับการมีการใช้คำว่า Cosplay อย่างชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ Nov Takahashi (ซึ่งมาจากสตูดิโอ Studio Hard ของญี่ปุ่น) บัญญัติศัพท์คำว่า "Cosplay" ขึ้นมาเพื่อเป็นการย่อคำจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่าcostume play เมื่อตอนที่แสดงงานเมื่อ ค.ศ. 1984 (พ.ศ.2527) ณ งาน los Angeles Science Fiction Worldcon ซึ่งเค้าได้บอกว่าเป็นชุดที่มีในหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น
สำหรับคำว่า Cosplay ในปัจจุบันนั้น นิยามที่ชัดที่สุดคือ "การแต่งกายเลียนแบบ" โดยเป็นการเลียนแบบตัวละคร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น การ์ตูน เกม วงดนตรี นวนิยาย Visual Kei วงศิลปิน ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความชอบ ในสิ่งที่ได้เลียนแบบนั้นๆ ทั้งนี้นอกจากเลียนแบบชุดแต่งกายแล้ว ยังอาจจะรวมไปถึงเลียนแบบกิริยา ท่าทาง บุคคลิก ต่างๆของต้นแบบอีกด้วย โดยผู้ที่คอสเพลย์นั้นมักเรียกว่า เลเยอร์ หรือย่อมาจาก Cosplayer นั่นเอง
สำหรับในไทยนั้น ที่นิยมมากที่สุด เช่น
คอสเพลย์การ์ตูน
คอสเพลย์เกม
คอสเพลย์ J-Rock
คอสเพลย์ตามศิลปิน
คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
คอสเพลย์ตามนิยาย
คอสเพลย์เกม
คอสเพลย์ J-Rock
คอสเพลย์ตามศิลปิน
คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
คอสเพลย์ตามนิยาย
โดยทั้งนี้การแต่งกายเลียนแบบนั้น อาจจะมีทั้ง แต่งกายให้เหมือนทั้งหมด หรือ ดัดแปลงเล็กน้อย สร้างสรร แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตัวที่เลียนแบบนั่นๆ
หลังจากนั้นเป็นต้นมา Cosplay ก็ ได้แพร่หลายตามความนิยมของการ์ตูนญี่ปุ่นไปทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาใต้และเหนือ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มผู้อ่านและผู้ชมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการประมาณของ www.cosplay.com ซึ่งเป็นชุมชน Cosplay ของโลกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งบนอินเทอร์เนตได้ประมาณการไว้ว่าผู้ที่แต่งคอสเพลย์ทั่วโลกในปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน จนถึงขนาดมีการประกวด Cosplay เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนจากแต่ละประเทศเพื่อมาประกวดความสามารถบนเวทีในรอบสุดท้ายในประเทศญี่ปุ่นในชื่องาน World Cosplay Summitและมีการถ่ายทอดสดในโทรทัศน์ผ่านทางเคเบิ้ลท้องถิ่นโดย TV Aichi เป็นประจำทุกปีอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทยนั้น จุดเริ่มต้นของกิจกรรมการแต่ง Cosplay ส่วนหนึ่งจะมาจากผู้ที่ชื่นชอบ J-Rock ในสมัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปีพุทธศักราช 2530 ปลายๆ อีกส่วนหนึ่งคือผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและติดตามข้อมูลโดยตรงจากทาง ญี่ปุ่น ก็ได้มีการรวมกลุ่มเล็กๆเพื่อจัดงานขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นต่างๆ เองก็ได้เริ่มให้ความสนใจจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความชื่นชอบในลักษณะของการประกวด Cosplay ขึ้นมาบ้าง ซึ่งจุดที่ทำให้ Cosplay เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในสังคมไทย เห็นจะเป็นกระแสของเกมออนไลน์ต่างๆ ที่เริ่มเข้ามาเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2545 โดย Cosplay ก็ เป็นกิจกรรมหลักๆ ที่ผู้นำเข้าเกมส์ทุกบริษัทจะจัดขึ้นมาเพื่อสร้างความคึกคักให้กับตัวงาน โดยเฉพาะเกมส์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอย่าง Ragnarok Online ซึ่งสื่อต่างๆ ก็ได้นำเอาเรื่องของ Cosplay ไปเผยแพร่จนมีผลทำให้บุคคลทั่วๆไปได้รู้จักกิจกรรมนี้กันมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมนั้นจะเป็นรู้จักเฉพาะในวงแคบๆ เท่านั้น
ผู้ที่แต่ง Cosplay หรือที่มักจะเรียกกันว่า Cosplayer ใน ประเทศไทย ส่วนมากแล้วจะเป็นวัยรุ่นหญิงที่อยู่ในระดับตั้งแต่มัธยมต้นไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่ที่ทำให้หลายๆคนตัดสินใจมาแต่ง Cosplay จะ เกิดขึ้นจากความชื่นชอบในการอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมาก่อน เมื่อมีการพูดคุยและเกิดการรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ประกอบกับมีการพบเห็นเนื้อหาเกี่ยวกับ Cosplay ตามสื่อ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ หรือจากการรวมกลุ่มของผู้ที่ชื่นชอบและพูดคุยกับบนอินเทอร์เนตตามเว็บไซต์ ต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับงานที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความสนใจ มีการชักชวนและรวมกลุ่มเพื่อเลือกเรื่องที่จะแต่งตามใจชอบ ทำหาข้อมูลของชุดตัวละครเพื่อมาวิเคราะห์และเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เนื้อผ้า ลวดลาย วัตถุดิบต่างๆ เพื่อนำมาตัดชุดและทำอุปกรณ์ตามแบบที่ตัวละครของเรื่องนั้นๆมีอยู่ หรือที่เรียกว่าการแกะแบบ จากนั้นจึงจะเป็นการจ้างร้านตัดเสื้อเพื่อตัดชุด หรือจะมาลงมือตัดชุดด้วยตัวเองก็ตาม และอีกทางเลือกหนึ่งที่มีในต่างประเทศสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอย่างเช่นญี่ปุ่น ก็คือการไปเลือกซื้อเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์สำเร็จรูป เช่น ดาบ วิกผม และอื่นๆ ตามตัวละครที่ชอบและสนใจ โดยเหมือนกับลักษณะของร้านเสื้อผ้าทั่วไปให้มาเลือกซื้อได้อย่างสะดวก โดยราคาของแต่ละสิ่งก็จะแตกต่างไปตามความละเอียดและความยากของการตัดชุด หรือการทำอุปกรณ์นั้นๆขึ้นมา
ไม่ว่าจะได้ชุดและอุปกรณ์มาด้วยวีธีการอย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการแต่ง Cosplay คือการสวมวิญญาณให้ได้เหมือนกับลักษณะนิสัยของบุคคลหรือตัวละครนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด โดยจะแบ่งได้ 2 แบบ คือ การไปเลือกสถานที่ที่จะถ่ายรูปด้วยตัวเอง หรือที่มักจะเรียกกันว่า Private Cos. และการมาร่วมงานการ์ตูนต่างๆ เพื่อเป็นการร่วมสนุกกับผู้ที่ชื่นชอบในสิ่งที่เหมือนๆกัน ซึ่งบางงานก็อาจจะมี Theme ที่ผู้จัดงานขอความร่วมมือให้แต่งกายมาเฉพาะตัวละครที่มาจากเรื่องนั้นๆเท่านั้น เช่นจากการ์ตูนเรื่อง Gundam เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว ในประเทศไทยจะไม่มีงานลักษณะนี้มากนัก เมื่อเทียบกับจำนวนงานในปัจจุบันที่มีตัวเลือกให้ร่วมหลากหลายมากกว่า 20 งานในทุกช่วงเวลาของปี และไม่เพียงแค่เฉพาะในเขตกรุงเทพเท่านั้น ในปัจจุบันยังมีการจัดงานไปที่เชียงใหม่และขอนแก่นอีกด้วย แต่ละงานก็จะมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ทุกครั้งไป และที่น่าสนใจกว่านั้น ส่วนมากแล้วผู้ที่ดำเนินการจัดงานเหล่านี้ก็มักจะเป็นวัยรุ่นที่มีอายุ อยู่ในระดับเดียวกัน นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ Cosplay หรือสำนักพิมพ์การ์ตูนต่างๆที่จะจัดงานประจำปีขึ้นมาเพื่อให้แต่ละคนมีโอกาสร่วมสนุกและรวมกลุ่มเพื่อนๆกัน รวมถึงบรรดาผู้ปกครองที่บางครั้งก็จะมาร่วมงานด้วยกันเพื่อช่วยบรรดาลูกๆ ในเรื่องต่างๆ เช่น การเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ การแต่งหน้า หรือการแต่งตัวให้ออกมาดูดีและสวยงามมากขึ้นไปอีก
ดังนั้น Cosplay จึง เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่วัยรุ่นจะได้ใช้เวลาว่างกับสิ่งที่ชื่นชอบและไปพบปะ กับเพื่อนๆที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน และอาจจะเป็นการเป็นกิจกรรมกิจกรรมสำหรับครอบครัวในวันหยุดพักผ่อนไปในตัว อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเสริมสร้างทักษะหลายๆอย่างทั้งทางอ้อมและทางตรง ไม่ว่าจะเป็นการฝึกการเข้าสังคม การทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม การฝึกความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง หรือการฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ท่าถ่ายรูปหรือการแสดงบนเวทีที่จะต้องมีการเตรียมการ มาก่อน หากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงความสวยงามของชุดจากการ์ตูนเรื่องต่างๆ จึงเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูด และทำให้มีผู้สนใจที่จะแต่ง Cosplay ตามงานการ์ตูนต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
ดังนั้น Cosplay จึง เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่วัยรุ่นจะได้ใช้เวลาว่างกับสิ่งที่ชื่นชอบและไปพบปะ กับเพื่อนๆที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน และอาจจะเป็นการเป็นกิจกรรมกิจกรรมสำหรับครอบครัวในวันหยุดพักผ่อนไปในตัว อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเสริมสร้างทักษะหลายๆอย่างทั้งทางอ้อมและทางตรง ไม่ว่าจะเป็นการฝึกการเข้าสังคม การทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม การฝึกความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง หรือการฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ท่าถ่ายรูปหรือการแสดงบนเวทีที่จะต้องมีการเตรียมการ มาก่อน หากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงความสวยงามของชุดจากการ์ตูนเรื่องต่างๆ จึงเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูด และทำให้มีผู้สนใจที่จะแต่ง Cosplay ตามงานการ์ตูนต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน